" หลวงตา...หนูจะถามอย่างโน้น... อย่างนี้ " ไปละเหตุเดิม มีเสื้อเกราะแก้วอยู่แล้ว เกราะเพชรอยู่แล้ว " โอ้โห...อุ่นจังๆ " อยู่ในเกราะนี้แล้ว มันไม่อยากถาม มันเข้าถึงผลแล้ว ผลของฌาณ ไม่มีใครเขาบ้าถามหรอก นอกจากจะสัมผัสเกราะ ดูคนอื่น อ๋อ..เขาขัดอย่างนี้ ก็ขัดบ้าง ไม่มีใครเขาถามไม่มีใครเขาพูด ถ้าพูดก็หมายความว่า ถอดฌาณ ถอดเกราะออก แล้วอยากจะอวดหรือไม่ อยากจะอวดก็สงสัย มันก็เป็นก่อนถึงอุปจารสมาธิฯ ใช่ไหมเล่า? เออ! ตัวนิวรณ์อยู่แล้วนี่ ก็ถอดเกราะแก้วออก ก็มีแต่ของอากาศแท้ๆ ฝุ่นแท้ๆ เอามาถาม
นั่นแหละลูก ไม่ได้ว่ากันแต่จะบอกให้ฟังว่า ผลของการปฏิบัติถ้าจะถามกันจริ งแล้ว ฌาณสมาบัตินี่ไม่ทรงตัวลูกก่ อนจะตายเราได้ฌาณ ๔ อภิญญา ๕ แล้วก็ได้สมาบัติ เข้าไปในฌาณสมาบัติตายในฌาณ เก่งเนาะ เป็นพรหม ๘๐๐ ล้านปีแสง...เอ้า พอหมดอายุก็ลงมาอีก ไม่ใช่พระโสดาบัน ตัวนั้นวัดไม่ได้...วัดไม่ได้ พอเราเลิกทำเหตุ... ผลก็เลิกทำ
เหมือนกับที่หลวงตาบอก ที่ยกตัวอย่างไง ( วันหลังหาร่มมาให้คันหนึ่ง) เนี่ย ! ร้อนๆอยู่ แล้วก็กางร่มแจ๊ะขึ้นไป โอ๊...เย็นจังเลยๆ ถ้าอยากเย็นก็ทรงการกางร่มเข้ าไว้ ถือเหตุคือถือด้ามร่มไว้ ถ้าไปหุบร่ม โอ๊ย...ทำไมร้อนหลวงตา? ก็มึงเสือกหุบร่ม เลิกเจริญเหตุ...ผลก็หายไป... แล้วจะมาถามว่า " เอ๊ะ!...หายไปยังไง? ทำไมไม่กลับมาอีก? " ก็มึงไปหุบร่ม ก็บอกให้กลับไปกางร่มใหม่ " ไม่เอาอยากจะลองอย่างอาจารย์โน้ นอาจารย์นี้บ้าง " ก็ไปลองกับเขาสิ มึงมาถามกูทำไม...?
แต่ไม่ได้กีดกันนะ แต่จะเล่าให้ฟังว่า ถ้าใครประกอบเหตุอะไรเยือกเย็ นเป็นสุข ให้จำเหตุนั้นไว้แล้วเจริ ญธรรมนั้นเจริญเหตุนั้น จนกว่าจะตาย หรือจนกว่าจะเจอเหตุใหม่ซึ่ งประณีตกว่า...บริสุทธิ์กว่า... ถ้ายังไม่เจอเหตุที่ประณีตกว่ าบริสุทธิ์กว่าให้ทำจนตาย ก่อนตายใน ๗ วัน จะต้องได้รู้ผลมันอิ่มแล้วจึ งเปลี่ยนอารมณ์ ตอนนั้นจะมีท่านมาบอก... มีอารมณ์ธรรมะในใจมาบอก... ควรจะเป็นยังไง ถ้าบอกแล้วยังไม่แน่ใจ เสียดายอารมณ์นี่ ก็อยากได้อารมณ์นั่น เหมือนกับนั่งอยู่ตรงนี้กางร่ มอันนี้อยู่ ลองนั่งอยู่ ลองเอาหัวไปอยู่ใต้ร่มไม้ เอ้า...เย็นดี นี่ก็เย็นดี... ยังลังเลอย่างนี้ ไม่รู้จะเอาเหตุอะไร ตอนนี้จะมีครูบาอาจารย์ มาบอกในกรรมฐาน ถ้าเราลังเลว่าบอก อันนี้กลัวจะพลาด กลัวจะคิดเอาเอง จะมีเหตุให้ไปเจอครูบาอาจารย์ หรือมีคนมาคุยด้วย ยืนยันเห็นด้วย ไม่ต้องถาม ถ้าถามอาจจะจัญไร พอถามเขาก็เอาตำราตอบ มันก็ตรงใจอยู่แล้ว มันต้องพูดโดยไม่ต้องถาม เป็นการยันกัน ใช่มั๊ย? นอกจากเขาไม่อยากจะพูด เขาก็ถาม " เอ้า! ...มีอะไรมั๊ยๆ? "
เอาเฉพาะสิ่งที่เราทำแล้วมั นชนไม่รู้จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวานะ ไม่ใช่ไปเอา " หลวงตา...หฯุอ่านหนังสือมา เนี่ยๆ...หลวงแม่ หลวงป้า หลวงพ่อองค์นั้นท่านทำอย่างนี้ ...เนี้ย! ท่านทำตั้ง ๑๘ พรรษา ๑๘ ชั่งโมงนะ แล้วก็ทำอย่างโน้น...อย่างนี้ ท่านก็คิดถึงพ่อแม่ท่าน ท่านอยากตาย ท่านก็ตายไม่ได้ " เล่าอยู่ ๔๕ นาที ถาม...แล้วโยมจะเอาอะไร? " หนูจะถามว่า มันเป็นยังไง? " กูจะไปรู้เรอะมึงบ้าพล่ามมาตั้ง ๔๕ นาที แล้ว มึงมาถามสรุปยอดมันจะเป็นยั งไง? มึงก็บ้านะซิ มึงก็ฟุ้งนะซิ ถ้าจะตอบไม่เกรงใจมันต้องเป็ นอย่างนั้น
ถ้าหากเขาถามว่ามีอะไรมั๊ย? ก็ต้องเอาอารมณ์ที่ตัวเองทำดี มาแล้ว มันชนเพดานเนาะไม่รู้เอาซ้ ายหรือขวาดี มันเห็นช่องอยู่ ๒ ช่อง ก็ไม่กล้าพลาด แล้วเขาจะไม่ลดเหตุลงมา เขาจะทรงเหตุนั้นไว้ จะดู " จะเอาซ้ายหรือเอาขวาดี " นั่นน่ะต้องการครูแล้ว ถ้าละเหตุแล้วมาบอก " หายไปหมดแล้ว " มึงไปหาเอาเอง ( หัวเราะ)
เออ..ถ้าถามต้องเอาสิ่งที่ตั วเข้าถึง แล้วแต่จะเข้าถึงฝั่งไม่รู้เลี้ ยวซ้ายเลี้ยวขวานะ กลัวจะเสียผล กลัวจะลืมเหตุ เนี่ย...เขาจะตอบได้ ถ้าไปเอาสมมติมา เขาตอบไม่ได้หรอก... ตอบไม่ได้... ของปีที่แล้วก็ตอบไม่ได้ ธรรมะมันเหมือนอย่างนี้โยม... สมมติใจพระ... ใจหลวงตานี่...ทีแรกกระดำกระด่ างอย่างนี้นะ หนูน้อยนะพอขัดไปๆ มันก็ใสเนาะ พอใสเขาก็ดูความใสตัวเอง เขาไม่ได้ดูคนอื่นหรอก " ใสจริงน้อ...สักกายทิฐิก็ไม่มี วิจิกิจฉาก็น้อยไป สีลพตปรามาสก็น้อยไป กามราคะ...อุ๊ย! ยังมีๆ โกธรยังมีๆ" เขาจะดูใจเขาในความผ่องใสอันนี้
คำสอนของพระครูภาวนาพิลาส วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์)
ที่มาจากหนังสือเสียงจากถ้ำ
ฉบับที่ ๒๕ หน้า ๒๔ - ๒๗
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น