เรื่องราว และข้อมูลที่เก็บไว้ ณ ที่นี้ เป็นของที่เก็บมาจากที่ต่าง ๆ ทั้งมีที่มาและหาที่มาไม่ได้หากท่านผ่านทางเข้ามาอ่าน หากไม่ชอบใจต้องขออภัย The stories and information collected here are collected from various sources, both originated and unrecognizable. If you pass by, read through If you don't like it, sorry.
การปลูกต้นไม้ใน 8 ทิศ ตามหลักโหราศาสตร์
1. ทิศตะวันออก (ทิศบูรพา): ควรปลูกไม้ไผ่ ต้นกุ่ม และต้นมะพร้าว ในบริเวณบ้าน จะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บไม่ให้เกิดขึ้นแก่คนในครอบครัว
2. ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ทิศอาคเนย์) : ควรปลูกต้นสารภี ต้นยอ ในบริเวณบ้าน จะป้องกันเสนียดจัญไร และเภทภัยอื่น ๆ
3. ทิศใต้ (ทิศทักษิณ) : ควรปลูกต้นมะม่วง ต้นมะพลับ ในบริเวณบ้าน จะป้องกันคนอื่นมารังแก รังควาน หาเรื่องเล่ห์เพทุบายมาสู่
4. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ทิศหรดี) : ควรปลูกต้นพิกุล ต้นขนุน ต้นคูณ(ราชพฤกษ์) และต้นสะเดา ในบริเวณบ้าน จะป้องกันโทษโพยภัยอันตรายที่จะมีคนใส่ร้ายป้ายสี
5. ทิศตะวันออก (ทิศประจิม) : ควรปลูกต้นมะขาม ต้นมะยม ในบริเวณบ้าน จะป้องกันถ้อยคดีความผีซ้ำด้ามพลอย ถูกคุณไสยกันได้สารพัด
6. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศพายัพ): ควรปลูกต้นมะกรูด ต้นมะนาว ต้นส้มเขียวหวาน ในบริเวณบ้าน จะป้องกันศัตรูเข้ามาคิดปองร้าย
7. ทิศเหนือ (ทิศอุดร): ควรปลูกต้นพุทรา ต้นฝรั่ง หรือหัวว่าน ในบริเวณบ้านจะป้องกันอาคม เวทย์มนต์ คุณไสย ใครเข้ามาคิดร้ายไม่ได้เลย
8. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน): ควรปลูกต้นทุเรียน และขุดบ่อน้ำไว้ข้างต้น ในบริเวณบ้าน จะป้องกันโรคห่า โรคระบาด ที่จะเกิดกับคนในบ้าน
ผู้นำที่ดีที่สุด คือ นักฟังชั้นยอด
คุณคิดว่าผู้นำที่ เก่งกล้าสามารถ เป็นที่ชื่นชมสำหรับทีมงาน ลูกค้าและคนทั่วไปนั้นเป็นผู้นำที่พูดเก่ง เจ้าคารมคมคาย ปฏิภาณไหวพริบเป็นเลิศ หรือเป็นผู้นำที่มีทักษะและศิลปะในการฟังชั้นเยี่ยม ผู้นำแบบไหนกันแน่ที่จะเป็นผู้นำยั่งยืน อยู่ได้ตลอดกาล พร้อมนำทีมงานและกลุ่มชนให้เดินตามตนเองได้โดยไม่ลังเล
คำตอบ คือ ผู้นำที่เป็นนักฟังชั้นยอดครับ! และเป็นที่แปลกใจหากเราสำรวจองค์กรต่างๆ และโปรแกรมการฝึกอบรมสำหรับผู้บริหาร ร้อยทั้งร้อยแทบไม่มีการฝึกอบรมทักษะการฟังเลย มีแต่การอบรมพัฒนาบุคลิกภาพและความสามารถการพูดในที่ชุมชน! ตรงนี้จึงเป็นที่มาของปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งในระดับองค์กร สังคม และแม้แต่ในระดับประเทศ เพราะหากคนฟังไม่มี มีแต่คนพูดหรือพ่นใส่กัน ปัญหาและความวุ่นวายทั้งหลายก็จะไม่มีทางออก ดังสำนวนที่คุ้นหูว่า 'ได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง!'
ดร.จอห์น ซี แม็กซ์เวลล์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ 'ขุมทองของผู้นำ' Leadership Gold ว่า 'ผู้นำส่วนใหญ่เป็นนักฟังระดับเลวร้าย เพราะคิดว่าการพูดสำคัญกว่าการฟัง แต่ผู้นำที่แหวกแนวจะรู้ว่า ดีกว่าถ้าฟังก่อน แล้วค่อยพูดทีหลัง และในยามที่รับฟัง จะฟังอย่างตั้งใจและมีศิลปะ'
เราเคยเจอผู้ บริหาร (หรือตัวเราเอง) ที่มักเหม่อลอยเวลามีคนมาพูดอะไรให้ฟัง หรือระหว่างที่รับฟังอยู่ ในใจก็เริ่มพูดแข่ง และตัดบทออกมาทั้งที่บางครั้งทีมงานยังพูดไม่จบหรือไม่ครับ นี่เป็นสัญญาณบอกเหตุร้ายของทักษะการฟังยอดแย่ เป็นผู้นำที่ไม่มีความอดทน หรือไม่มีขันติในการฟัง เพราะกิเลสในใจนั้นมันจะแต่ง จะปรุง จะผลักดันให้เราเผยอปากและโพล่งออกมาในจังหวะที่ไม่เหมาะสม และหากลองสังเกตดูดีๆ จะเห็นว่า บ่อยครั้งเป็นคำพูดที่ไม่เหมาะไม่ควร ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ถูกกาลเทศะ คือ มีแต่เสียกับเสีย
จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ตัวเราหรอกครับที่ผลักดันให้เราโพล่งออกมา แต่เป็นอัตตาตัวตน และกิเลสล้วนๆ ที่เสี้ยมสอน ลองฝึกดูให้นั่งนิ่งๆ ตั้งใจฟังคนที่มาคุยด้วย เราจะเห็นว่ามีแรงอัดที่เริ่มจุกขึ้นมาจากในอก พยายามดันให้เราโต้ตอบออกมา หากเราไม่พูดไม่จา เอาแต่นั่งฟังนิ่งๆ แรงอัดนี้จะแรงขึ้นๆ แต่พอสักพักที่เรามองเห็นได้ทัน ก็จะสลายหายไป แต่หากมองไม่ทัน ก็จะกลายเป็นคำพูด นั่นคือ วจีกรรมที่ได้ทำในแต่ละครั้ง ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ตามปัจจัยปรุงแต่งภายนอกและแรงอัดจากภายใน
ทำไมนักฟังจึงเป็นผู้นำที่ทรงประสิทธิผล
1. เพราะผู้นำเข้าใจผู้คนก่อนที่จะนำเขา
ผู้นำที่เก่งจะไว ต่อความรู้สึก ความหวัง และ ความฝันของทีมงาน เจาะเข้าไปในหัวใจของคนรอบข้าง 'ผู้นำแตะหัวใจก่อนจะขอมือมาร่วมงาน' ดังนั้น หากคุณไม่เคยเชื่อมต่อ ไม่เคยรับฟังอารมณ์และความรู้สึกของทีมงาน คุณจะไม่สามารถนำทางเขาได้เลย
2. การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการฟัง
เราจะเรียนรู้ อะไรใหม่ๆ ได้อย่างไร หากเราเป็นผู้พูดอย่างเดียว คนที่ฉลาดมากถึงมากที่สุดจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการรับฟัง เพราะนั่นคือสุดยอดของการเรียนรู้ นักจัดรายการทีวีอันดับต้นๆ ของโลกอย่าง แลร์รี่ คิง กล่าวไว้ว่า 'ผมเตือนตัวเองในทุกเช้า คำพูดที่หลุดออกจากปากผมวันนี้จะไม่สอนสั่งให้ความรู้แก่ผมเลย ดังนั้น หากผมจะเรียนรู้อะไรได้ ผมต้องฟัง'
3. การรับฟังยับยั้งปัญหาไม่ให้ขยายใหญ่โต
ภาษิตอินเดียน แดงกล่าวไว้ว่า 'รับฟังเสียงกระซิบ คุณจะไม่ได้ยินเสียงกรีดร้อง' ผู้นำที่ดีใส่ใจในปัญหาเล็กน้อยก่อนจะลุกลามใหญ่โต และให้ฟังในสิ่งที่ไม่ได้พูดออกมาด้วย (Unspoken Words) โดยเฉพาะสังคมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ไม่กล้าแสดงออก หากถามอะไรก็จะไม่พูดไม่จา แต่เก็บไว้ในใจและไประบายที่อื่น ผู้นำจึงควรมีเรดาร์พิเศษที่จะต้องดักจับสัญญาณต่างๆ ไว้ก่อน
4. การรับฟังสร้างความไว้วางใจ
ต้นทุนสำคัญสุดใน ความสัมพันธ์และประสิทธิภาพในการทำงาน คือ ความไว้วางใจ ความจริงใจ และตรงไปตรงมา หากผู้นำและผู้ตามต่างก็ไม่เป็นผู้ฟังที่ดี มีทักษะการฟังที่ย่ำแย่ ไม่ใส่ใจ ไม่พัฒนาแก้ไขปรับปรุง ความไม่น่าไว้วางใจก็จะเกิดขึ้น เป็นการบ่อนทำลายความสัมพันธ์ในการทำงาน ท้ายที่สุด โอกาสดีๆ ก็จะหลุดลอยไป
5. การรับฟังช่วยปรับปรุงองค์กร
ลี เอียค็อกคา อดีตประธานบริษัทไครสเลอร์ได้กล่าวไว้ว่า 'การรับฟังก่อให้เกิดผลต่างระหว่างบริษัทสามัญกับบริษัทยิ่งใหญ่' นั่นหมายถึงการรับฟังทุกระดับ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง แนวดิ่ง แนวราบ ตั้งแต่ลูกค้า ทีมงาน ผู้บริหาร และทุกๆ คน
สรุปว่า การฟังปันผลให้เสมอ ยิ่งฟังมาก รู้มาก ก็ยิ่งทำงานให้ง่ายขึ้น 'ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะมอบให้ใครได้ คือ ความใส่ใจ'
ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ซีอีโอผู้นำพุทธวิถีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานอย่างลงตัว จนเกิดกระแส การตลาดสีขาว White Ocean Strategy สร้างพลังและแรงบันดาลใจให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้หันมาสนใจในเรื่องพลังของสมองซีกขวา คุณธรรมและจริยธรรม ล่าสุดได้นำเสนอแนวคิด DQ (Dharma Quotient) ปัญญาที่เห็นธรรมชาติตามความเป็นจริง แก่นแท้ของการใช้ชีวิตและการบริหารงานอย่างมีความสุข
โดย : ดนัย จันทร์เจ้าฉาย danai@dmgbooks.com
คำตอบ คือ ผู้นำที่เป็นนักฟังชั้นยอดครับ! และเป็นที่แปลกใจหากเราสำรวจองค์กรต่างๆ และโปรแกรมการฝึกอบรมสำหรับผู้บริหาร ร้อยทั้งร้อยแทบไม่มีการฝึกอบรมทักษะการฟังเลย มีแต่การอบรมพัฒนาบุคลิกภาพและความสามารถการพูดในที่ชุมชน! ตรงนี้จึงเป็นที่มาของปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งในระดับองค์กร สังคม และแม้แต่ในระดับประเทศ เพราะหากคนฟังไม่มี มีแต่คนพูดหรือพ่นใส่กัน ปัญหาและความวุ่นวายทั้งหลายก็จะไม่มีทางออก ดังสำนวนที่คุ้นหูว่า 'ได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง!'
ดร.จอห์น ซี แม็กซ์เวลล์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ 'ขุมทองของผู้นำ' Leadership Gold ว่า 'ผู้นำส่วนใหญ่เป็นนักฟังระดับเลวร้าย เพราะคิดว่าการพูดสำคัญกว่าการฟัง แต่ผู้นำที่แหวกแนวจะรู้ว่า ดีกว่าถ้าฟังก่อน แล้วค่อยพูดทีหลัง และในยามที่รับฟัง จะฟังอย่างตั้งใจและมีศิลปะ'
เราเคยเจอผู้ บริหาร (หรือตัวเราเอง) ที่มักเหม่อลอยเวลามีคนมาพูดอะไรให้ฟัง หรือระหว่างที่รับฟังอยู่ ในใจก็เริ่มพูดแข่ง และตัดบทออกมาทั้งที่บางครั้งทีมงานยังพูดไม่จบหรือไม่ครับ นี่เป็นสัญญาณบอกเหตุร้ายของทักษะการฟังยอดแย่ เป็นผู้นำที่ไม่มีความอดทน หรือไม่มีขันติในการฟัง เพราะกิเลสในใจนั้นมันจะแต่ง จะปรุง จะผลักดันให้เราเผยอปากและโพล่งออกมาในจังหวะที่ไม่เหมาะสม และหากลองสังเกตดูดีๆ จะเห็นว่า บ่อยครั้งเป็นคำพูดที่ไม่เหมาะไม่ควร ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ถูกกาลเทศะ คือ มีแต่เสียกับเสีย
จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ตัวเราหรอกครับที่ผลักดันให้เราโพล่งออกมา แต่เป็นอัตตาตัวตน และกิเลสล้วนๆ ที่เสี้ยมสอน ลองฝึกดูให้นั่งนิ่งๆ ตั้งใจฟังคนที่มาคุยด้วย เราจะเห็นว่ามีแรงอัดที่เริ่มจุกขึ้นมาจากในอก พยายามดันให้เราโต้ตอบออกมา หากเราไม่พูดไม่จา เอาแต่นั่งฟังนิ่งๆ แรงอัดนี้จะแรงขึ้นๆ แต่พอสักพักที่เรามองเห็นได้ทัน ก็จะสลายหายไป แต่หากมองไม่ทัน ก็จะกลายเป็นคำพูด นั่นคือ วจีกรรมที่ได้ทำในแต่ละครั้ง ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ตามปัจจัยปรุงแต่งภายนอกและแรงอัดจากภายใน
ทำไมนักฟังจึงเป็นผู้นำที่ทรงประสิทธิผล
1. เพราะผู้นำเข้าใจผู้คนก่อนที่จะนำเขา
ผู้นำที่เก่งจะไว ต่อความรู้สึก ความหวัง และ ความฝันของทีมงาน เจาะเข้าไปในหัวใจของคนรอบข้าง 'ผู้นำแตะหัวใจก่อนจะขอมือมาร่วมงาน' ดังนั้น หากคุณไม่เคยเชื่อมต่อ ไม่เคยรับฟังอารมณ์และความรู้สึกของทีมงาน คุณจะไม่สามารถนำทางเขาได้เลย
2. การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการฟัง
เราจะเรียนรู้ อะไรใหม่ๆ ได้อย่างไร หากเราเป็นผู้พูดอย่างเดียว คนที่ฉลาดมากถึงมากที่สุดจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการรับฟัง เพราะนั่นคือสุดยอดของการเรียนรู้ นักจัดรายการทีวีอันดับต้นๆ ของโลกอย่าง แลร์รี่ คิง กล่าวไว้ว่า 'ผมเตือนตัวเองในทุกเช้า คำพูดที่หลุดออกจากปากผมวันนี้จะไม่สอนสั่งให้ความรู้แก่ผมเลย ดังนั้น หากผมจะเรียนรู้อะไรได้ ผมต้องฟัง'
3. การรับฟังยับยั้งปัญหาไม่ให้ขยายใหญ่โต
ภาษิตอินเดียน แดงกล่าวไว้ว่า 'รับฟังเสียงกระซิบ คุณจะไม่ได้ยินเสียงกรีดร้อง' ผู้นำที่ดีใส่ใจในปัญหาเล็กน้อยก่อนจะลุกลามใหญ่โต และให้ฟังในสิ่งที่ไม่ได้พูดออกมาด้วย (Unspoken Words) โดยเฉพาะสังคมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ไม่กล้าแสดงออก หากถามอะไรก็จะไม่พูดไม่จา แต่เก็บไว้ในใจและไประบายที่อื่น ผู้นำจึงควรมีเรดาร์พิเศษที่จะต้องดักจับสัญญาณต่างๆ ไว้ก่อน
4. การรับฟังสร้างความไว้วางใจ
ต้นทุนสำคัญสุดใน ความสัมพันธ์และประสิทธิภาพในการทำงาน คือ ความไว้วางใจ ความจริงใจ และตรงไปตรงมา หากผู้นำและผู้ตามต่างก็ไม่เป็นผู้ฟังที่ดี มีทักษะการฟังที่ย่ำแย่ ไม่ใส่ใจ ไม่พัฒนาแก้ไขปรับปรุง ความไม่น่าไว้วางใจก็จะเกิดขึ้น เป็นการบ่อนทำลายความสัมพันธ์ในการทำงาน ท้ายที่สุด โอกาสดีๆ ก็จะหลุดลอยไป
5. การรับฟังช่วยปรับปรุงองค์กร
ลี เอียค็อกคา อดีตประธานบริษัทไครสเลอร์ได้กล่าวไว้ว่า 'การรับฟังก่อให้เกิดผลต่างระหว่างบริษัทสามัญกับบริษัทยิ่งใหญ่' นั่นหมายถึงการรับฟังทุกระดับ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง แนวดิ่ง แนวราบ ตั้งแต่ลูกค้า ทีมงาน ผู้บริหาร และทุกๆ คน
สรุปว่า การฟังปันผลให้เสมอ ยิ่งฟังมาก รู้มาก ก็ยิ่งทำงานให้ง่ายขึ้น 'ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะมอบให้ใครได้ คือ ความใส่ใจ'
ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ซีอีโอผู้นำพุทธวิถีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานอย่างลงตัว จนเกิดกระแส การตลาดสีขาว White Ocean Strategy สร้างพลังและแรงบันดาลใจให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้หันมาสนใจในเรื่องพลังของสมองซีกขวา คุณธรรมและจริยธรรม ล่าสุดได้นำเสนอแนวคิด DQ (Dharma Quotient) ปัญญาที่เห็นธรรมชาติตามความเป็นจริง แก่นแท้ของการใช้ชีวิตและการบริหารงานอย่างมีความสุข
โดย : ดนัย จันทร์เจ้าฉาย danai@dmgbooks.com
พระประจำวันอาทิตย์ ได้แก่ ปางถวายเนตร
ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปที่อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์
ความเป็นมา
เมื่อครั้งพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความสงบ) อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรเลยตลอดระยะเวลา 7 วัน ซึ่งสถานที่ประทับยืนนี้ได้มีนามปรากฏว่า "อนิมิสเจดีย์" มาจนปัจจุบัน เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปเพื่อสักการะบูชาประจำของคนเกิดวันอาทิตย์
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม, เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พึทธานัง นะมัตถุ โพธิยา, นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา
สวดวันละ 6 จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล และผู้ที่เกิดวันอาทิตย์พึงใช้สีที่เป็นมงคล สำหรับเครื่องนุ่งห่ม ประจำบ้านเรือน หรือเครื่องประดับควรเป็นของที่มีสีแดง จะเป็นสิริมงคลลาภผล ดียิ่งนัก ส่วนสีรองๆ ลงไป มีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน
เลือกใส่บาตรวันอาทิตย์
อาหารคาว : ประเภทไข่ ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย ต้ม แกงกะทิ
อาหารหวาน : ไข่หวาน มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก้ว ขนมใส่กะทิ น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะพร้าว น้ำขิง เงาะ
ของถวายพระ : หลอดไฟ ไฟฉาย เทียน ธูป อุปกรณ์แสงสว่าง แว่นตา หมากพลู
ทำทาน : เติมน้ำมันตะเกียงตามวัด คนตาบอด โรงพยาบาลโรคตา มูลนิธิคนตาบอด โรงพยาบาลโรคหัวใจ มูลนิธิโรคหัวใจ
พฤติกรรม : ออกรับแสงอาทิตย์อ่อนๆ ช่วงเช้าหรือเย็นๆ เพื่อให้เกิดพลัง อย่าใจร้อน เลิกทิฐิ ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
พระประจำวันเสาร์ ได้แก่ ปางนาคปรก
ลักษณะพระพุทธรูป : พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร
ความเป็นมา
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ และประทับบำเพ็ญสมาบัติเสวยวิมุตติสุขอันเกิดจากความพ้นกิเลสอยู่ ณ อาณาบริเวณที่ไม่ไกลจากต้นพระศรีมหาโพธิ์แห่งละ 7 วันนั้น ในสัปดาห์ที่ 3 นี้เอง ก็ได้ไปประทับใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ขณะนั้นฝนได้ตกลงมาไม่หยุด พญานาคตนหนึ่งชื่อ "มุจลินท์นาคราช" ก็ได้ขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าไว้มิให้ฝนตกต้องพระวรกาย เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย จนฝนหาย จึงได้แปลงร่างเป็นมาณพเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันเสาร์…
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต, นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ
สวดวันละ 10 จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน และผู้ที่เกิดวันเสาร์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีดำหลัว หรือสีม่วง ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก สีน้ำเงิน พึงเว้นสีเขียว
เลือกของใส่บาตรวันเสาร์
อาหารคาว : ประเภทของขม ของดำมะระยัดไส้ สะเดาน้ำปลาหวาน น้ำพริกปลาทู มะเขือยาว
อาหารหวาน : ลูกตาลเชื่อม กาแฟ โอเลี้ยง
ของถวายพระ : ร่มสีดำ กระเบื้องมุงหลังคา ไม้กวาด สร้างห้องน้ำถวายวัด
ทำทาน : โรงพยาบาลโรคจิต โรงพยาบาลโรคประสาท
พฤติกรรม : กวาดลานวัด ล้างห้องน้ำวัด ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ขยะในบ้านยกทิ้งทุกวัน อย่าหมักหมม
พระประจำวันศุกร์ ได้แก่ ปางรำพึง
ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
ความเป็นมา
ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงพิจารณาถึงธรรมที่ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่มีความละเอียดลึกซึ้ง ยากที่มนุษย์ปุถุชนจะรู้ตามได้ จึงเกิดความท้อพระทัยที่จะไม่สั่งสอนชาวโลก ด้วยรำพึงว่าจะมีใครสักกี่คนที่ฟังธรรมะของพระองค์เข้าใจ ร้อนถึงท้าวสหัมบดีพรหมได้มากราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมว่าในโลกนี้บุคคลที่มีกิเลสเบาบางพอฟังธรรมได้ยังมีอยู่ พระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาแล้วก็เห็นชอบด้วย อีกทั้งทรงรำพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อน ว่าตรัสรู้แล้วก็ย่อมแสดงธรรมโปรดสัตว์โลกเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนทั้งปวง จึงได้น้อมพระทัยในอันที่จะแสดงธรรมต่อชาวโลกตามคำอาราธนานั้น และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคลนั้นแล เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า ปางรำพึง
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันศุกร์...
อัปปะสันเนติ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต อะมะนุสเสหิ สะทา กิพพิสะการิภิ ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะจะคุตติยา ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห
สวดวันละ 21 จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน และผู้ที่เกิดวันศุกร์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินแก่ ส่วนสีรองลงมาคือ สขาวนวล สีม่วง สีเหลือง พึงเว้นสีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก
เลือกของใส่บาตรวันศุกร์ ...รักความสุขสบาย สำราญ
อาหารคาว : ประเภทของหอม หวาน ข้าวหอมมะลิ ผักกาดหอม ไข่เจียวหอมใหญ่ ยำหัวหอม
อาหารหวาน : ขนมหวาน หอมทุกชนิด น้ำเก๊กฮวย ผลไม้ที่มีกลิ่นหอม กล้วยหอม เค้ก
ของถวายพระ : นาฬิกา โต๊ะรับแขก ดอกไม้สวยหอม ระฆัง ย่าม
ทำทาน : เด็กด้อยโอกาส ให้เงิน ให้เสื้อผ้า อาหารที่หอมหวานชวนกิน เช่น ไอศกรีม
พฤติกรรม : ทำตัวให้สดชื่นแจ่มใส บำรุง ดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่ตลอด จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ สวยงาม เลิกการฟุ่มเฟือย
พระประจำวันพฤหัสบดี ได้แก่ ปางสมาธิ หรือ ปางตรัสรู้
ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
ความเป็นมา
ปางตรัสรู้ คือ ปางที่เจ้าชายสิทธัตถะหรือพระโพธิสัตว์ทรงประทับขัดสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคาใต้ต้นมหาโพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา และได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ซึ่งก็ตรงกับวันวิสาขบูชานั่นเอง
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพฤหัสบดี...
อัตถิโลเก สีละคุโณ สัจจังโสเจยยะ นุททะยา เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา ธัมมัพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา มาตาปิตา จะนิกขันตา ชาตะเวทะ ปฏิกกะมะ สะหะ สัจเจกะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ
สวดวันละ 19 จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป และผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีเหลืองหรือสีไพล ส่วนสีรองลงมาคือ สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว พึงเว้น สีดำ สีกรมท่า และสีน้ำเงินแก่
เลือกของใส่บาตรวันพฤหัสบดี
อาหารคาว : ประเภทเถา แกงเลียง บวบผัดไข่ น้ำเต้า
อาหารหวาน : แตงโม แตงไทย น้ำสมุนไพร ส้ม สาลี่ น้ำมะตูม น้ำว่านหางจระเข้
ของถวายพระ : สบง จีวร หนังสือธรรมะ ตู้ยา โต๊ะหมู่บูชา
ทำทาน : โรงพยาบาลสงฆ์ บริจาคข้าวสาร เสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว
พฤติกรรม : นั่งสมาธิ สวดมนต์ ถือศีล 5 อย่าซื่อจนเกินไป
พระประจำวันพุธ (กลางคืน)ได้แก่ ปางป่าเลไลยก์ (ผู้ที่เกิดระหว่างเวลา 18.00 น. ของวันพุธถึง 06.00 น.ของวันพฤหัสบดี หรือบางคนก็นับตั้งแต่ 18.00 – 24.00 น.ของวันพุธ (สุดแต่ความเชื่อ))
ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย
ความเป็นมา
สำหรับปางนี้กล่าวถึงเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ครั้นนั้นพระภิกษุมีมากรูปด้วยกัน และไม่สามัคคีปรองดอง ไม่อยู่ในพุทธโอวาท ประพฤติตามใจตัว พระองค์จึงเสด็จจาริกไปอยู่ตามลำพังพระองค์เดียวในป่าที่ชื่อว่าปาลิไลยกะ โดยมีมีพญาช้างเชือกหนึ่งชื่อ "ปาลิไลยกะ" เช่นเดียวกัน มีความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ มาคอยปฏิบัติบำรุงและคอยพิทักษ์รักษามิให้สัตว์ร้ายมากล้ำกราย ทำให้พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ในป่านั้นด้วยความสงบสุข และป่านั้นต่อมาก็ได้ชื่อว่า "รักขิตวัน" ครั้นพญาลิงเห็นพญาช้างทำงานปรนนิบัติพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพ ก็เกิดกุศลจิตทำตามอย่างบ้าง ต่อมาชาวบ้านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่ไม่พบ และทราบเหตุ ก็พากันตำหนิติเตียน และไม่ทำบุญกับพระเหล่านั้น พระภิกษุเหล่านี้จึงได้สำนึก ขอให้พระอานนท์ไปทูลเชิญเสด็จพระพุทธองค์กลับมา ช้างปาลิไลยกะก็มาส่งเสด็จด้วยความเศร้าเสียใจ จนหัวใจวายล้มตายไป ด้วยกุศลผลบุญจึงได้ไปเกิดเป็น "ปาลิไลยกะเทพบุตร"
จากเหตุการณ์นี้ ถือว่าเป็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงพฤติกรรมของพระ 2 ฝ่ายในขณะนั้น ไม่เชื่อฟังแม้กระทั้งพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนจึงได้สร้างพระปางนี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจถึงการแตกสามัคคี การทะเลาะวิวาทกัน
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางคืน)
กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต ติฏฐะสีติ สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธาคาถาภิคิโตมหิ โนเจ มุญเจยะ จันทิมันติ
ดูก่อนราหู เพราะเหตุใดหนอ ท่านจึงเร่งรีบปล่อยพระอาทิตย์ไปเสียเล่า และทำไมหนอ ท่านจึงดูเศร้าสลด มายืนซึมอยู่ตรงนี้เล่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ดังนั้น หากข้าพเจ้าไม่ปล่อยสุริยเทพบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง ถึงมีชีวิตอยู่ต่อไป ก็จะไม่ได้รับความสุขเลย
สวดวันละ 12 จบ จะมีความเจริญสุขสวัสดี ผู้ที่เกิดวันราหู หรือวันพุธกลางคืน ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีเมฆหมอก สีเทา หรือสีดำหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีแดง สีขาวนวล สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ พึงเว้นสีเหลือง
เลือกของใส่บาตรวันพุธ (กลางคืน)
อาหารคาว : ของหมักดอง ผักกาดดองผัดไข่ อาหารกระป๋อง แกงใบยอ หมูยอ แหนม ไข่เยี่ยวม้า ห่อหมก
อาหารหวาน : ข้าวหมาก ขนมเปียกปูนดำ เฉาก๊วย ข้าวเหนียวดำ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลไม้หัวโตๆ ทุเรียน
ของถวายพระ : พัดลม เทปธรรมะ ยาแก้โรคลม ยาหอม
ทำทาน : มูลนิธิหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับยาเสพติด
พฤติกรรม : เลิกบุหรี่ เลิกดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เลิกการพนัน เลิกทำตัวเหลวไหล เลิกเที่ยวกลางคืน เลิกยาเสพติดทุกชนิด
พระประจำวันพุธ (กลางวัน) ได้แก่ ปางอุ้มบาตร
ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว
ความเป็นมา
เมื่อพระพุทธเจ้าได้สำแดงอิทธิปาฏิหารย์ เหาะขึ้นไปในอากาศต่อหน้าพระประยูรญาติทั้งหลาย เพื่อให้พระญาติผู้ใหญ่ได้เห็น และละทิฐิถวายบังคมแล้ว จึงได้ตรัสเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก ครั้นแล้วพระญาติทั้งหลายก็แยกย้ายกันกลับโดยไม่มีใครทูลอาราธนาฉันพระกระยาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น ด้วยเข้าใจผิดคิดว่าพระองค์เป็นราชโอรสและพระสงฆ์ก็เป็นศิษย์ คงต้องฉันภัตตาหารที่จัดเตรียมไว้ในพระราชนิเวศน์เอง แต่พระพุทธองค์กลับพาพระภิกษุสงฆ์สาวกเสด็จจาริกไปตามถนนหลวงในเมือง เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ (ผู้ที่พึงสั่งสอนได้)อันเป็นกิจของสงฆ์ และนับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้มีโอกาสชมพระพุทธจริยาวัตรขณะทรงอุ้มบาตรโปรดสัตว์ ประชาชนจึงต่างแซ่ซ้องอภิวาทอย่างสุดซึ้ง แต่ปรากฏว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดาทรงทราบเข้า ก็เข้าใจผิดและโกรธพระพุทธองค์ หาว่าออกไปขอทานชาวบ้าน ไม่ฉันภัตตาหารที่เตรียมไว้ พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงอธิบายว่า การออกบิณฑบาตรเป็นการไปโปรดสัตว์ มิใช่การขอทาน จึงเป็นที่เข้าใจกันในที่สุด
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน)
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเห
สวดวันละ 17 จบ จะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป และผู้ที่เกิดวันพุธ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีเขียว หรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง
เลือกของใส่บาตรวันพุธ (กลางวัน)
อาหารคาว : เน้นสีเขียว-หมู แกงเขียวหวานหมู หมูปิ้ง หมูทอด ผัดพริกหมู คะน้าน้ำมันหอย
อาหารหวาน : ขนมเปียกปูนเขียว น้ำฝรั่ง ชมพู่เขียว องุ่นเขียว มะม่วงเขียวเสวยฝรั่ง ชามะนาว
ของถวายพระ : สมุด กระดาษ ปากกา ดินสอ อุปกรณ์การเรียนการศึกษา
ทำทาน : คนพิการทางหู โรงพยาบาลโรคสมอง โรงเรียนสอนคนหูหนวก
พฤติกรรม : อ่านหนังสือธรรมะ ร้องเพลง ฝึกสร้างความมั่นใจให้ตนเอง
พระประจำวันอังคาร ได้แก่ ปางโปรดอสุรินทราหู หรือ ปางไสยาสน์ หรือ ปางปรินิพพาน
ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)
ความเป็นมา
ปางไสยาสน์ หรือบางทีก็เรียก ปางปรินิพพาน เป็นพุทธประวัติตอนที่พระพุทธองค์ได้รับสั่งให้พระจุนทะเถระปูอาสนะลงที่ระหว่างต้นรังคู่หนึ่ง แล้วทรงประทับบรรมทมแบบสีหไสยา ตั้งพระทัยไม่เสด็จลุกขึ้นอีก แต่ก็ยังได้โปรดสุภัททะปริพาชกเป็นอรหันต์องค์สุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศก ร่ำไห้ คร่ำครวญถึงพระองค์ พระอานนท์และพระอนุรุทธเถระได้แสดงธรรมเพื่อปลอบโยนมหาชน พุทธศาสนิกชนเมื่อรำลึกถึงการเสด็จปรินิพพานของพระองค์ จึงได้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เพื่อบูชาพระพุทธองค์
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าถึงปางนี้อีกนัยหนึ่งคือ ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร "อสุรินทราหู" หรือ "พระราหู" ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับคำสรรเสริญถึงพระเกียรติคุณของพระบรมศาสดาจากสำนักเทพยดาทั้งหลาย ก็มีความปรารถนาอยากจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง แต่ก็คิดคำนึงไปเองว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ คงต้องมีพระวรกายที่เล็ก หากตนจะไปเฝ้าก็จะต้องก้มมองเป็นความลำบากมาก อีกทั้งตนก็ไม่เคยก้มเศียรให้ใคร คิดแล้วก็ไม่ไปเฝ้า
ต่อมาได้ยินพวกเทวดาสรรเสริญพระพุทธองค์อีก ก็เกิดความอยากไปเฝ้าอีก จึงวันหนึ่งได้ตั้งใจไปเฝ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบด้วยญาณ รวมทั้งทราบถึงความในใจของอสุรินทราหู จึงทรงเนรมิตพระวรกายให้ใหญ่โตกว่ากายของอสุริทราหูหลายเท่าขณะเสด็จบรรทมรอรับ ดังนั้น เมื่อมาเข้าเฝ้า แทนที่อสุรินทราหูจะต้องก้มมอง กลับต้องแหงนหน้าดูพระพุทธองค์ จึงเกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนว่า ข่าวลือหรือเรื่องใดๆหากไม่เห็นด้วยตนเอง หรือยังไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ ก็ไม่ควรติชมไปก่อน อีกทั้งได้พาอสุรินทราหูไปเที่ยวพรหมโลก ได้เห็นบรรดาพรหมที่มาเฝ้ามีร่างกายใหญ่โตกว่าตนทั้งสิ้น แต่พระพุทธเจ้าก็ยังมีพระวรกายใหญ่กว่าพรหมเหล่านั้นอีก อสุรินทราหูจึงลดทิฐิและหันมาเลื่อมใสในพระบรมศาสดา
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอังคาร
ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิก เขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิ คัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิ สัมภะวา คะณะนานะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห
สวดวันละ 8 จบ จะเกิดผลดี และผู้ที่เกิดวันอังคาร ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีชมพู หรือ สีแดงหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมาคือ สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีเหลือง สีแดง พึงเว้นสีขาวนวล
เลือกของใส่บาตรวันอังคาร
อาหารคาว : อาหารประเภทเส้น ขนมจีน วุ้นเส้น บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว เนื้อวัว ปลาช่อนตากแห้งทอด
อาหารหวาน : ฝอยทอง สลิ่ม ลอดช่อง ทุเรียน ระกำ ขนุน น้ำสไปร์ท น้ำอัดลม
ของถวายพระ : เหล็ก เครื่องมือประเภทเหล็ก กรรไกร แปรงสีฟัน ยาสีฟัน พัดลม กรรไกรตัดเล็บ
ทำทาน : คนพิการทางปาก ปากแหว่ง ผู้ป่วยโรคลมชัก
พฤติกรรม : ทำตัวให้กระฉับกระเฉง ตื่นตัว ขยันให้มากขึ้น ลดอารมณ์ร้อน การชิงดีชิงเด่น
พระประจำวันจันทร์ ได้แก่ ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร
ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร ต่างกันตรงที่ปางห้ามญาติจะยกมือขวาขึ้นห้ามเพียงมือเดียว ส่วนปางห้ามสมุทร จะยกมือทั้งสองขึ้นห้าม แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมสร้างเป็นปางห้ามญาติ และนิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง
ความเป็นมา
ปางห้ามญาติเกิดขึ้นเนื่องจากพระญาติฝ่ายพุทธบิดาคือกรุงกบิลพัสดุ์ และพระญาติฝ่ายพุทธมารดา คือ กรุงเทวทหะ ซึ่งอาศัยอยู่บนคนละฝั่งของแม่น้ำโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทแย่งน้ำเพื่อไปเพาะปลูกกันขึ้น ถึงขนาดจะยกทัพทำสงครามกันเลยทีเดียว พระพุทธองค์จึงต้องเสด็จไปเจรจาห้ามทัพ คือ ห้ามพระญาติมิให้ฆ่าฟันกัน
ส่วนปางห้ามสมุทรเป็นพุทธประวัติ ตอนเสด็จไปโปรดพวกชฎิล (นักบวชประเภทหนึ่งที่นุ่งห่มหนังเสือ และนิยมบูชาไฟ) 3 พี่น้องได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราพร้อมบริวาร 1,000 คน โดยได้แสดงพุทธปาฏิหารย์หลายอย่างเพื่อทำลายทิฎฐิมานะของชฎิลทั้งหลาย เช่น ห้ามลม ห้ามฝน ห้ามพายุ และห้ามน้ำท่วมที่เจิ่งนองตลิ่งมิให้มาต้องพระวรกายได้ อีกทั้งยังสามารถเดินจงกรมอยู่ใต้พื้นน้ำได้ ทำให้พวกชฎิลเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และยอมบวชเป็นพุทธสาวก
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันจันทร์
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
สวดวันละ 15 จบ จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง และผู้ที่เกิดวันจันทร์ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีขาว เหลืองอ่อนๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง
เลือกของใส่บาตรวันจันทร์
อาหารคาว : ประเภทสัตว์ปีก สัตว์น้ำ เช่นไก่ผัดขิง ไก่ย่าง ไก่ทอด ปูผัดผงกะหรี่ ปูนึ่ง ข้าวมันไก่ ข้าวผัดปู เต้าหูทอด แกงจืดเต้าหู้ แกงเผ็ดเป็ดย่าง ปลาสลิดทอด
อาหารหวาน : น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำอ้อย โดนัท นมสด นมกล่อง เผือก มันลางสาด ขนมเปี๊ยะ
ของถวายพระ : แก้วน้ำ แจกัน ของโปร่งๆ ใสๆ
ทำทาน : มูลนิธิช่วยเหลือสตรี
พฤติกรรม : ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส อยู่เสมอ อย่าวิตกกังวลเกินเหตุ บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกให้แข็งแรง ให้ความช่วยเหลือสตรีเช่นลุกให้สตรีนั่งบนรถเมล์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)