" หลวงตา...หนูจะถามอย่างโน้น...อย่างนี้ " ไปละเหตุเดิม มีเสื้อเกราะแก้วอยู่แล้ว เกราะเพชรอยู่แล้ว " โอ้โห...อุ่นจังๆ " อยู่ในเกราะนี้แล้ว มันไม่อยากถาม มันเข้าถึงผลแล้ว ผลของฌาณ ไม่มีใครเขาบ้าถามหรอก นอกจากจะสัมผัสเกราะ ดูคนอื่น อ๋อ..เขาขัดอย่างนี้ ก็ขัดบ้าง ไม่มีใครเขาถามไม่มีใครเขาพูด ถ้าพูดก็หมายความว่า ถอดฌาณ ถอดเกราะออก แล้วอยากจะอวดหรือไม่อยากจะอวดก็สงสัย มันก็เป็นก่อนถึงอุปจารสมาธิฯ ใช่ไหมเล่า? เออ! ตัวนิวรณ์อยู่แล้วนี่ ก็ถอดเกราะแก้วออก ก็มีแต่ของอากาศแท้ๆ ฝุ่นแท้ๆ เอามาถาม
นั่นแหละลูก ไม่ได้ว่ากันแต่จะบอกให้ฟังว่า ผลของการปฏิบัติถ้าจะถามกันจริงแล้ว ฌาณสมาบัตินี่ไม่ทรงตัวลูกก่อนจะตายเราได้ฌาณ ๔ อภิญญา ๕ แล้วก็ได้สมาบัติ เข้าไปในฌาณสมาบัติตายในฌาณ เก่งเนาะ เป็นพรหม ๘๐๐ ล้านปีแสง...เอ้า พอหมดอายุก็ลงมาอีก ไม่ใช่พระโสดาบัน ตัวนั้นวัดไม่ได้...วัดไม่ได้ พอเราเลิกทำเหตุ... ผลก็เลิกทำ
เหมือนกับที่หลวงตาบอก ที่ยกตัวอย่างไง ( วันหลังหาร่มมาให้คันหนึ่ง) เนี่ย ! ร้อนๆอยู่ แล้วก็กางร่มแจ๊ะขึ้นไป โอ๊...เย็นจังเลยๆ ถ้าอยากเย็นก็ทรงการกางร่มเข้าไว้ ถือเหตุคือถือด้ามร่มไว้ ถ้าไปหุบร่ม โอ๊ย...ทำไมร้อนหลวงตา? ก็มึงเสือกหุบร่ม เลิกเจริญเหตุ...ผลก็หายไป...แล้วจะมาถามว่า " เอ๊ะ!...หายไปยังไง? ทำไมไม่กลับมาอีก? " ก็มึงไปหุบร่ม ก็บอกให้กลับไปกางร่มใหม่ " ไม่เอาอยากจะลองอย่างอาจารย์โน้นอาจารย์นี้บ้าง " ก็ไปลองกับเขาสิ มึงมาถามกูทำไม...?
แต่ไม่ได้กีดกันนะ แต่จะเล่าให้ฟังว่า ถ้าใครประกอบเหตุอะไรเยือกเย็นเป็นสุข ให้จำเหตุนั้นไว้แล้วเจริญธรรมนั้นเจริญเหตุนั้น จนกว่าจะตาย หรือจนกว่าจะเจอเหตุใหม่ซึ่งประณีตกว่า...บริสุทธิ์กว่า...ถ้ายังไม่เจอเหตุที่ประณีตกว่าบริสุทธิ์กว่าให้ทำจนตาย ก่อนตายใน ๗ วัน จะต้องได้รู้ผลมันอิ่มแล้วจึงเปลี่ยนอารมณ์ ตอนนั้นจะมีท่านมาบอก... มีอารมณ์ธรรมะในใจมาบอก...ควรจะเป็นยังไง ถ้าบอกแล้วยังไม่แน่ใจ เสียดายอารมณ์นี่ ก็อยากได้อารมณ์นั่น เหมือนกับนั่งอยู่ตรงนี้กางร่มอันนี้อยู่ ลองนั่งอยู่ ลองเอาหัวไปอยู่ใต้ร่มไม้ เอ้า...เย็นดี นี่ก็เย็นดี... ยังลังเลอย่างนี้ ไม่รู้จะเอาเหตุอะไร ตอนนี้จะมีครูบาอาจารย์มาบอกในกรรมฐาน ถ้าเราลังเลว่าบอก อันนี้กลัวจะพลาด กลัวจะคิดเอาเอง จะมีเหตุให้ไปเจอครูบาอาจารย์หรือมีคนมาคุยด้วย ยืนยันเห็นด้วย ไม่ต้องถาม ถ้าถามอาจจะจัญไร พอถามเขาก็เอาตำราตอบ มันก็ตรงใจอยู่แล้ว มันต้องพูดโดยไม่ต้องถาม เป็นการยันกัน ใช่มั๊ย? นอกจากเขาไม่อยากจะพูด เขาก็ถาม " เอ้า! ...มีอะไรมั๊ยๆ? "
เอาเฉพาะสิ่งที่เราทำแล้วมันชนไม่รู้จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวานะ ไม่ใช่ไปเอา " หลวงตา...หฯุอ่านหนังสือมา เนี่ยๆ...หลวงแม่ หลวงป้า หลวงพ่อองค์นั้นท่านทำอย่างนี้...เนี้ย! ท่านทำตั้ง ๑๘ พรรษา ๑๘ ชั่งโมงนะ แล้วก็ทำอย่างโน้น...อย่างนี้ ท่านก็คิดถึงพ่อแม่ท่าน ท่านอยากตาย ท่านก็ตายไม่ได้ " เล่าอยู่ ๔๕ นาที ถาม...แล้วโยมจะเอาอะไร? " หนูจะถามว่า มันเป็นยังไง? " กูจะไปรู้เรอะมึงบ้าพล่ามมาตั้ง ๔๕ นาที แล้ว มึงมาถามสรุปยอดมันจะเป็นยังไง? มึงก็บ้านะซิ มึงก็ฟุ้งนะซิ ถ้าจะตอบไม่เกรงใจมันต้องเป็นอย่างนั้น
ถ้าหากเขาถามว่ามีอะไรมั๊ย? ก็ต้องเอาอารมณ์ที่ตัวเองทำดีมาแล้ว มันชนเพดานเนาะไม่รู้เอาซ้ายหรือขวาดี มันเห็นช่องอยู่ ๒ ช่อง ก็ไม่กล้าพลาด แล้วเขาจะไม่ลดเหตุลงมา เขาจะทรงเหตุนั้นไว้ จะดู " จะเอาซ้ายหรือเอาขวาดี " นั่นน่ะต้องการครูแล้ว ถ้าละเหตุแล้วมาบอก " หายไปหมดแล้ว " มึงไปหาเอาเอง ( หัวเราะ)
เออ..ถ้าถามต้องเอาสิ่งที่ตัวเข้าถึง แล้วแต่จะเข้าถึงฝั่งไม่รู้เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวานะ กลัวจะเสียผล กลัวจะลืมเหตุ เนี่ย...เขาจะตอบได้ ถ้าไปเอาสมมติมา เขาตอบไม่ได้หรอก... ตอบไม่ได้... ของปีที่แล้วก็ตอบไม่ได้ ธรรมะมันเหมือนอย่างนี้โยม...สมมติใจพระ... ใจหลวงตานี่...ทีแรกกระดำกระด่างอย่างนี้นะ หนูน้อยนะพอขัดไปๆ มันก็ใสเนาะ พอใสเขาก็ดูความใสตัวเอง เขาไม่ได้ดูคนอื่นหรอก " ใสจริงน้อ...สักกายทิฐิก็ไม่มี วิจิกิจฉาก็น้อยไป สีลพตปรามาสก็น้อยไป กามราคะ...อุ๊ย! ยังมีๆ โกธรยังมีๆ" เขาจะดูใจเขาในความผ่องใสอันนี้
คำสอนของพระครูภาวนาพิลาส วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์)
ที่มาจากหนังสือเสียงจากถ้ำ
ฉบับที่ ๒๕ หน้า ๒๔ - ๒๗
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น